แก้อาการสมาธิสั้นในเด็ก แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
ลูกคุณมีอาการแบบนี้หรือเปล่า?
- เหม่อลอย
- อยู่ไม่นิ่ง
- วอกแวกง่าย
- ไม่ตั้งใจฟัง ต้องบอกหรือสั่งซ้ำ
- ชอบพูดคุยในห้องเรียน
- ความจำไม่ดี ขี้ลืม
- ลายมือไม่เป็นระเบียบ เขียนช้า
- ไม่ชอบอ่านหนังสือ
- ผลการเรียนอ่อนลง
- ปัญหาการเข้าสังคม
- ขาดความมั่นใจในตนเอง
-
ปฏิเสธและปิดกั้นการเรียนรู้สิ่งใหม่
เรารู้ว่าคุณกำลังกังวลใจกับอาการเหล่านี้ของลูกคุณอยู่ใช่ไหม?
แต่ไม่ต้องกังวลใจไป เรามาทำความเข้าใจต้นเหตุของอาการเหล่านี้ พร้อมทั้งวิธีการแก้ไขกันเถอะ !
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
อาการที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นอาการที่แสดงออกในเด็กที่ขาดสมาธิ หรือเราสามารถเรียกโดยชื่อที่เรารู้จักกันดีว่า อาการสมาธิสั้น
แล้วอาการสมาธิสั้นเกิดจากอะไรหล่ะ?
สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอาการสมาธิสั้นในเด็กนั้นเกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน ปัจจัยหลักๆก็คือ
-
ปัจจัยด้านพันธุกรรม
โรคนี้สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ได้ถึงร้อยละ 75
-
ปัจจัยด้านระบบประสาท
เด็กที่มีอาการสมาธิสั้นจะมีการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับเรื่องของสมาธิ และการควบคุมตัวเองน้อยกว่าปกติ
-
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
หากมารดามีการดื่มสุรา และ หรือ สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กมีอาการสมาธิสั้นได้ รวมไปถึงการคลอดก่อนกำหนด และการมีน้ำหนักตัวแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์ด้วยเช่นกัน
และอีกหนึ่งสาเหตุที่อาจทำให้เด็กเกิดอาการสมาธิสั้นได้ก็คือ “ การเลี้ยงดู ” เพราะการเลี้ยงดูที่ไม่มีกฎระเบียบ และทิศทางที่แน่นอนตายตัว ตามใจ และการเลี้ยงดูที่ไม่มีความสอดคล้องหรือไปในแนวทางเดียวกันของผู้ปกครอง หรือแม้กระทั้งการที่ให้เด็กๆ อยู่กับหน้าจอมือถือ หรือสื่ออิเล็กโทรนิคมากเกินไปจะทำให้เด็กปกติมีอาการคล้ายกับเด็กที่มีอาการสมาธิสั้นได้ ซึ่งอาการแบบนี้เรียกว่า “ สมาธิสั้นเทียม ”
เราสามารถแก้ไขอาการสมาธิสั้นได้อย่างไรบ้าง?
-
การรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
โดยแพทย์จะจัดยาให้เหมาะสมกับอายุ และอาการของเด็ก เพื่อให้ยาไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทในสมองเพิ่มมากขึ้น แต่การใช้ยาในการรักษาก็มีข้อจำกัดเช่นกัน เนื่องจากยาบางชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่นๆขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
-
การปรับพฤติกรรม และกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
การปรับพฤติกรรม และกระตุ้นพัฒนาการเด็ก จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ตนเอง และทำให้เด็กมีพัฒนาการแต่ละด้านเหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก ช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้และจดจ่อกับสิ่งต่างๆเป็นเวลานานขึ้นได้
-
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยส่งเสริมสมดุลให้สารเคมีในสมอง ทำให้สมองทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น แต่หากให้เด็กรับประทานอาหารบางประเภทที่มีส่วนผสมของน้ำตาล หรือมีคาเฟอีนที่มากเกินไปจะยิ่งไปกระตุ้นอาการสมาธิสั้นของเด็กให้มีเพิ่มขึ้นมาได้
และอีกหนึ่งวิธีที่สามารถแก้ไขอาการสมาธิสั้นได้อย่างตรงจุด และเห็นผลอย่างยั่งยืนก็คือการฝึกสมองตามแบบฉบับ BrainFit ถ้าอยากรู้ว่าเป็นยังไง ไปดูกันเล๊ยยยยย!!
ที่ BrainFit เรามีระบบฝึกสมองทั้ง 5 ด้าน จากการวิจัย ผ่านกิจกรรมที่สนุกสนาน
รู้จักสมองส่วนต่างๆ กันไปแล้ว
----- มาดูกันซิว่า ขณะที่น้องๆ เรียนหนังสือ ------
ทักษะทั้ง 5 ด้าน ทำงานอย่างไรบ้าง!
ทักษะด้านการฟัง (Auditory Processing)
หากสมองของเด็กทำการวิเคราะห์เสียงช้าเกินไป จะส่งผลทำให้เด็กไม่สามารถแยกความแตกต่างของ เสียงสองเสียงที่ได้ยินและอาจฟังเป็นเสียงเดียวกัน เกิดความสับสน ไม่เข้าใจ หรือฟังไม่ทันเมื่อต้องฟังคำสั่งจากคุณครู ทำให้เด็กอาจหันเหไปทำอย่างอื่นได้ง่าย ผู้ใหญ่จึงมองว่าเด็กขาดสมาธินั่นเอง
ทักษะด้านการมอง (Visual Processing)
หากเด็กมีการพัฒนาการที่อ่อนกว่าวัยในด้านนี้ จะไม่สามารถจดจำรายละเอียดในสิ่งที่มองเห็นได้ ส่งผลให้เด็กขาดความสนใจกับสิ่งที่กำลังเรียนรู้อยู่ตรงหน้า และเบี่ยงเบนไปทำอย่างอื่นที่ง่ายและเพลิดเพลินมากกว่า เช่น เล่นกับเพื่อน ชวนเพื่อนคุย นั่งเหม่อ หรือเดินออกจากห้อง เป็นต้น
ทักษะด้านการควบคุมการเคลื่อนไหวและประสาทสัมผัส (Sensory-Motor Processing)
หากเด็กมีพัฒนาการด้านนี้ที่อ่อนกว่าวัย จะส่งผลให้เด็กต้องออกแรงควบคุมร่างกายเยอะกว่าเด็กที่มีพัฒนาการด้านนี้สมวัย ส่งผลให้เวลาที่จะต้องควบคุมร่างกายให้ตั้งตรง การทรงตัว หรือแม้กระทั่งการควบคุมกล้ามเนื้อมือเพื่อจับปากกา หรือดินสอ มีความยากลำบาก ถึงแม้จะออกแรงเยอะสักแค่ไหน แต่สุดท้ายก็ไม่อาจประคอง หรือควบคุมกล้ามเนื้อเหล่านี้ได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้เด็กไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ขณะเรียนได้ มีอาการยุกยิกตลอดเวลา ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เด็กแสดงอาการไม่ใส่ใจในการเรียน ไม่ตั้งใจ และขาดสมาธิ
ทักษะด้านสมาธิ (Attention)
ทักษะด้านสมาธิจะเกิดขึ้นหลังจากที่สมองด้านการฟัง การมอง และการเคลื่อนไหวแข็งแรงสมวัยขึ้นมา เมื่อสมองทั้ง 3 ด้านนี้แข็งแรงแล้ว เวลาที่เราเรียนรู้ในสิ่งใหม่ จะทำให้เราไม่ต้องดึงพลังสมองจากส่วนที่แข็งแรงกว่าไปช่วยสมองด้านที่อ่อนแอกว่า และเป็นเหตุให้สมองด้านนั้นทำงานได้มีประสิทธิภาพลดลง เมื่อสมองทุกด้านแข็งแรงพร้อมเรียนรู้จึงทำให้เด็กๆ มีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เรียนได้ดีขึ้น พร้อมที่จะคิด พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง เรียนแล้วเข้าใจ สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องออกแรงพยายามมากจนเกินไป
ทักษะด้านอารมณ์ และสังคม (Social - Emotion Skills)
ความสามารถและทักษะการเข้าสังคม การเข้าใจ และควบคุมอารมณ์ สำหรับการเรียนรู้หรือการใช้ชีวิตประจำวันของเด็กนั้น เป็นสิ่งสุดท้ายที่เราจะฝึกทักษะด้านอารมณ์ที่ดี จะช่วยให้เด็กมีความมั่นใจ เชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง และทำให้มีพลังเชิงบวกในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เด็กๆ กล้าคิดกล้าทำในสิ่งที่ไม่เคยลองทำมาก่อน เป็นทักษะพื้นฐานอีกหนึ่งอย่างที่สำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ
ภาพตัวอย่างการฝึกผ่านกิจกรรมที่สนุกสนาน
เสียงตอบรับจากผู้ปกครองหลังฝึกคอร์ส BrainFit Scholar ช่วงปิดเทอม
หนึ่งในผลที่ได้จากการฝึกกับ BrainFit Whole Brain Training
อย่ารอช้า! ทุกวินาทีที่ผ่านไป เป็นโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของลูกคุณ
----------------------------------------------------------------------
ขอรับคำปรึกษาได้ฟรี
จันทร์ อังคาร พุธ และเสาร์อาทิตย์ โทร 02-656-9938
วันพฤหัสบดี-วันศุกร์ 091-774-3769
BrainFit เปิดโอกาสให้น้องๆ ทดลองเรียนฟรี!
**สำรองที่นั่งล่วงหน้า ที่นั่งมีจำนวนจำกัด**
LINE: @brainfit_th
หรือสามารถกรอกข้อมูลด้านล่าง เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถทำการติดต่อได้ทันทีค่ะ